5 ข้อคิด จุดไฟนวัตกรรมให้ติดในธุรกิจ SME
5 ข้อคิด จุดไฟนวัตกรรมให้ติดในธุรกิจ SME
ช่วงปลายเดือนที่แล้วผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “สัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ” ที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งนับเป็นการประชุมหอการค้า ทั่วประเทศครั้งที่ 33 แล้ว ในปีนี้ประเด็นการประชุมหลักของงานคือเรื่องของนวัตกรรม ภายใต้หัวข้อ “Innovate to Excellence: นวัตกรรมนําไทย สู่ความสําเร็จ” โดยมีนักธุรกิจชั้นนําของไทยร่วมอภิปรายใน workshop เพื่อให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมในองค์กร
หลังจากได้เข้าร่วม workshop แล้วทําให้ผมมีความรู้สึกอย่างหนึ่งว่า ผู้ประกอบการไทยจํานวนมากยังไม่คุ้นเคยกับเรื่องนวัตกรรม เท่าไร และยังยึดติดกับความรู้สึกหรือแนวคิดที่ปิดกั้นต่อความเป็นไปได้ของการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
ผมขอเสนอข้อคิด 5 ประการที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ตรงที่ได้เป็นที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ธุรกิจและนวัตกรรมเพื่อให้เห็นภาพ ว่าการสร้างนวัตกรรมใน SME นั้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ
“นวัตกรรมหมายถึงการสร้างอะไรที่แปลกใหม่”
เวลาที่เราพูดถึงนวัตกรรมนั้นเรามักวาดภาพถึงการสร้างอะไรที่แปลกใหม่ ยังไม่เคยมีมาก่อนในตลาด แต่ในความเป็นจริงแล้ว “ความใหม่” นั้นเป็นเพียงคุณลักษณะอย่างหนึ่งของสิ่งที่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมไม่ใช่ทั้งหมด สิ่งที่นวัตกรรมนั้นในความหมายที่แท้ คือการสร้างความแปลกใหม่ทางด้านคุณค่า ซึ่งไม่ได้หมายถึงการผลิตสินค้าใหม่เสมอไป แต่รวมถึงวิธีการหาคุณค่าใหม่จากสิ่งเดิมที่ มีอยู่ บ่อยครั้งที่สินค้าหรือบริการของเราไม่อาจตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ แต่อาจตรงเป้าประสงค์ของอีกกลุ่มหนึ่งได้ ทั้งนี้ ทั้งนั้นสิ่งสําคัญคือ การเก็บข้อคิดเห็นหรือ feedback จากลูกค้า สังเกตการใช้งานและสิ่งที่ลูกค้าได้รับจากสินค้าหรือบริการของเรา
“ไอเดียดีๆ นั้นหายาก”
คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์นั้นเริ่มจากการหา “ไอเดียดีๆ” หรือสินค้าก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้วไอเดีย อย่างเดียวนั้นไม่ใช่คําตอบและไม่อาจก่อให้เกิดมูลค่าใดๆ ได้ สิ่งที่สําคัญกว่าไอเดียคือการหา “ตลาด” ที่มีช่องว่างและธุรกิจของเรา สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ ธุรกิจที่ประสบความสําเร็จและสามารถนําเสนอสินค้าที่เป็นนวัตกรรมได้นั้นไม่ได้เริ่มจากไอเดีย ดีๆ แต่เริ่มจากการได้อยู่ในตลาดที่เหมาะสม
“นวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องลงทุนสูง”
เชื่อไหมครับว่าผู้ประกอบการ SMEs ไทยจํานวนมากสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาได้ในทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันข่าวสารที่เรา ได้รับจากสื่อต่างๆ นั้นล้วนพุ่งเป้าประเด็นไปที่การเปิดตัวสินค้า หรือธุรกิจที่ประสบความสําเร็จและมีมูลค่าสูงๆ เท่านั้น ถ้าเรามี ความเข้าใจว่านวัตกรรมไม่จําเป็นต้องสื่อถึงสินค้าใหม่เสมอ และตลาดที่เปิดกว้างนั้นสําคัญกว่าการนําเสนอไอเดียใหม่ เราจะเห็นได้ ว่าการสร้างนวัตกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้มาจากการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดแต่เป็นการสร้างคุณค่าใหม่แบบค่อยเป็นค่อยไป (incremental change)
“นวัตกรรมนั้นมาจากการคิดนอกกรอบ”
เราคงได้ยินเรื่องของการ “คิดนอกกรอบ” หรือ Think outside the box กันบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อนวัตกรรมถูกนําไปเชื่อมโยงกับ ความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบ และการสร้างสิ่งใหม่ ทําให้คนส่วนใหญ่คิดถึงนวัตกรรมในแง่ของการคิดต่างจากแนวทางเดิมที่เป็นอยู่ ซึ่งมันก็มีเค้าความจริงอยู่ แต่เพียงแค่ส่วนเดียวครับ
เมื่อมีโอกาสได้สอนหรือพูดเกี่ยวกับเรื่องนวัตกรรมและการคิดนอกกรอบนั้น ผมมักเน้นย้ำถึงการสร้างความเข้าใจก่อนว่า “กรอบ นั้นอยู่ตรงไหน” ความคิดของเราไม่อาจกระโดดออกนอกกรอบได้ถ้าเรายังไม่เข้าใจว่ากรอบที่มีนั้นคืออะไร ข้อจํากัดคืออะไร กรอบนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วการ “คิดนอกกรอบ” นั้นน่าจะดูเหมือนการ “ค่อยๆ เลาะกรอบไปแล้วค่อยหา ทางก้าวข้าม” กรอบนั้นมากกว่า
“นวัตกรรมนํามาซึ่งสิ่งที่ดีเสมอ”
ในขณะที่เราพูดถึงนวัตกรรมในแง่ของการสร้างคุณค่าขึ้นในสังคม ผมอยากให้มองอีกมุมหนึ่งของนวัตกรรมครับ กับความจริงที่ว่า เมื่อมีสิ่งใหม่ขึ้นมา สิ่งที่มีอยู่เดิมก็ต้องถูกทดแทนเสมอ เช่นการสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเครื่องจักร ก็หมายถึงการจ้างงานที่ลดลง หรือการสร้างนวัตกรรมด้านการสื่อสารอย่างสื่อสังคมออนไลน์ ก็อาจหมายถึงโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรมที่ถูกบิดเบือนไป
สิ่งที่เราทําล้วนมีผลกระทบข้างเคียงที่ตามมาเสมอ ดีหรือไม่ ควรหรือไม่ควร อยู่ที่มุมมองและจุดยืนของแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ใช่เหตุผลที่ผู้ประกอบการควรหยุดพัฒนา แต่ควรให้ความสําคัญกับคุณค่าเชิงบวกที่ธุรกิจของเราสร้างให้กับสังคมให้มากกว่า เดิมครับ
ธีระ กนกกาญจนรัตน์
ผู้อํานวยการฝ่ายกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยี เจ.เอ็ม.คาตาลิสท์
http://www.facebook.com/SMECompass
Cr.www.thairath.co.th

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม