พื้นอีพ็อกซี่ ประเภทต่าง ๆ
พื้นอีพ็อกซี่ที่มีอยู่ในตลาดมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ในบทความนี้จะขอนำเสนอประเภทพื้นอีพ็อกซี่สำหรับเคลือบพื้นเท่านั้น เมื่อเราเริ่มสนใจที่ทำการเคลือบพื้นโรงงาน พื้นโรงรถ พื้นอู่ซ่อมรถ พื้นห้องทดลองหรือพื้นห้อง Clam room สิ่งแรกที่คุณควรตั้งคำถามในใจก่อนคือ เราจะใช้อะไรเคลือบมัน คุณต้องหาว่ามันมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร แต่ถ้าคุณจะเลือกใช้พื้นอีพ็อกซี่แล้ว มันมีตั้งหลายประเภท เช่น สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำ (Water Based Epoxy) สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำมัน (Solvent Based Epoxy) และ สีอีพ็อกซี่ 100% Solid Content ในท้องตลาดบางตัวเสนอเรามาในรูปราคาต่อปริมาตร บางตัวราคาต่อน้ำหนัก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรเลือกใช้ประเภทใด ด้วยเหตุผลเรื่องของการเลือกพื้นมาใช้งานและต้องมีการลงทุนกับการเคลือบพื้น เราจำเป็นที่ต้องมาเรียนรู้หรือทำความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับพื้นอีพ็อกซี่ว่าแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ก่อนที่คุณจะทำการตัดสินใจเลือกประเภทพื้นและจ้างช่างมาติดตั้งหรือเคลือบสีให้คุณ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ให้ข้อมูลคุณเพิ่มเติมเพื่อช่วยคุณให้คุณตัดสินใจว่าควรจะเลือกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์พื้นอีพ็อกซี่ตัวไหนที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ เราขอย้ำว่าคุณควรทำความเข้าใจเรื่องพื้นอีพ็อกซี่ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจว่าแต่ละตัวต่างกันอย่างไร พื้นอีพ็อกซี่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยทำการแบ่งตามประเภทของตัวทำละลายเรซินอีพ็อกซี่ ได้แก่ - Solvent Based Epoxy Floor (สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำมัน) พื้นอีพ็อกซี่ สามารถแบ่งตามประเภทสารละลายเรซินอีพ็อกซี่นั้น Solvent และน้ำจะถูกใช้มากที่สุด เนื่องจากตัวมันจะช่วยเพิ่มคุณสมบัติของพื้นอีพ็อกซี่ให้ดีขึ้น เช่น ช่วยเพิ่มการยึดเกาะ ช่วยเพิ่มหรือยืดเวลาในการใช้งาน “Pot Lift” ซึ่งเมื่อคุณนำสารผสมกันระหว่าง Part-A ตัวเรซินอีพ็อกซี่ผสมกับ Part-B สารเร่งแข็งหรือ “Hardener” แล้ว ปฏิกิริยาการบ่มหรือการเร่งแข็งได้เริ่มขึ้นแล้ว คุณมีเวลาไม่นานนักก่อนที่สีจะเป็นเจลซึ่งจะไม่สามารถใช้งานได้แล้ว เวลาขึ้นกับอุณหภูมิและสูตรของแต่ละโรงงานผู้ผลิต คุุณต้องทำการทา กลิ้งหรือปาดให้เสร็จก่อนจะหมดเวลา “pot Lift” เป็นต้น 1. Solvent Based Epoxyพื้นอีพ็อกซี่ที่ทำการเคลือบเคลือบได้ง่ายที่สุดด้วยการกลิ้งด้วยลูกกลิ้งหรือการทาด้วยแปลง มันมีแนวโน้มที่ใช้งานมากขึ้นสำหรับตลาดที่ต้องการทาสีพื้นเอง เพราะว่ามันมีอายุการใช้งานยาว ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งนานพอที่จะทำให้เราทำเสร็จโดยไม่ต้องรีบเร่งหรือใช้ความชำนาญสูงนัก แต่พวกมันมีข้อด้อยเหมือนกัน เมื่อสีพื้นประเภทนี้ถูกเคลือบทาบนพื้นสารละลายเหล่านี้ก็จะระเหยออกไปเหลือไว้แต่เนื้ออีพ็อกซี่ นั่นเป็นสาเหตุว่าความหนาของฟิล์มสีเปียกมากกว่าฟิล์มสีแห้ง มันเกิดขึ้นเพราะตัวทำละลายไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับเรซินอีพ็อกซี่ โดยมากเปอร์เซนต์ของเรซินอีพ็อกซี่จะถูกระบุไว้ใน “Product Data Sheet หรือ TDS” ว่ามีเท่าไหร่เช่น ถ้าสีอีพ็อกซี่ติดฉลากไว้ 50% Solid Cotent นั่นหมายถึงว่าเวลาทีเรานำสีไปทาแล้วหากความหน้าฟิลมเปียก “Wet Film” หนา 700 ไมครอนแล้วหากสีแห้งลงจะได้ฟิล์มแห้ง “Dry Film” หนาประมาณ 300 – 350 ไมครอนเท่านั้น Solvent Based Epoxy ที่ผู้ใช้งานชอบเลือกมาใช้งานด้วยเหตุผล 2-3 ข้อ เช่น - มันสามารถใช้งานได้ดีในสภาวะอุณหภูมิต่ำ แต่มันก็มีปัญหาเหมือนกัน เนื่องจาก Solvent มีค่า VOC’s (Volatile Organic Compound) เป็นองค์ประกอบมันจะถูกปล่อยออกมาเมื่อฟิล์มสีเริ่มกระบวนการแห้ง และที่สำคัญเราไม่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่อับ หรือที่ที่มีการไหลเวียนอากาศไม่ เพราะ Solvent จะระเหยออกมาจำนวนมากจะเกิดเป็น Fume ที่มีกลิ่นเหม็น อันตรายและสามารถลุกติดไฟได้ เนื่องจาก VOC’s มีการห้ามใช้หรือกำหนดปริมาณสูงสุดที่มีได้ ในบางประเทศห้ามให้ใช้งานหรือถ้าใช้ได้ต้องลดปริมาณลง แต่ไม่เป็นผลเพราะว่าไม่มีสารละลายตัวอื่นละลายตัวอื่นละลายเรซินอีพ็อกซี่ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะนำมาใช้ แต่สำหรับประเทศไทยเรา ยังไม่มีกฎหมายตัวนี้มาบังคับการใช้งาน เรายังสามารถใช้งานได้ ดังนั้นบางประเทศไดทำการพัฒนาตัว Water Based Epoxy ขึ้นมาใช้งานแทน 2. Water Based Epoxy (อีพ็อกซี่สูตรน้ำ)Water Bsed Epoxy ถูกพัฒนาขึ้นมาทดแทนการใช้งานตัว Solvent เนื่องจากเรื่อง VOC’s Content, การเกิด Fume เมื่อใช้งาน กลื่นเหม็นและการรักษาสิ่งแวดล้อม พื้นอีพ็อกซี่ สูตรน้ำบางสูตรมีความทนทานมากกว่าเดิมมาก มีการพัฒนาความสามารถในการเคลือบบนพื้นคอนกรีตที่มีอายุประมาณ 1 อาทิตย์ได้ด้วย และที่สำคัญที่สุด มันสามารถใช้งานเป็นตัวกันความชื้น “Moisture Barrier” เพื่อป้องกันการเกิด hudroststic pressure transmission ได้ นั่นเราจึงได้พบว่าทำไมจึงมีสูตรสี Epoxy Primer ที่เป็นสูตรน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก 3. Solvent-Free Epoxy (100% solid content Epoxy)พื้นอีพ็อกซี่แบบ Solvent-Free หรือ 100% Solid Content ไม่ไช่ทั้ง Solvent หรือ Water Based ด้วยเหตุนี้พื้นประเภทนี้จึงสามารถทำความหนาฟิล์มสีได้มากกว่า เพราะไม่มีส่วนไหลระเหยออกไปจากฟิล์มสีเลย แต่เนื้อสีจะกลายเป็นฟิล์มสีทั้งหมด ดังนั้นมันจึงสามารถทำความหนาได้สูง ซึ่งบางผู้ผลิตสีสามารถทำได้ประมาณ 10 มิลลิเมตรเลยทีเดียว และที่สำคัญมันไม่มีการปล่อยสาร VOC’s ออกสู่สิ่งแวดล้อม พื้นอีพ็อกซี่ประเภทนี้ถูกนำไปทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมันมีคุณสมบัติเด่นเรื่อง การทนทานต่อการขัดถู ทนทานต่อสารเคมีและกรด-ด่างได้ดีกว่า water based ซึ่งเมื่อดูเรื่องการใช้งานในรูปแบบหลาย ๆ แบบแล้วพบว่า Solvent-Free มีความทนทานต่อการใช้งานสูงสุดเมื่อเทียบกันกับ Solvent และ Water Based Epoxy แต่พื้นประเภทนี้ก็มีข้อด้อยเหมือนกัน คือมันทำการติดตั้งยาก การความคุมความหนาทำได้ลำบากจะให้เท่ากันทั้งหมด และที่สุดคือ มันมี Pot lift สั้น คือประมาณ 30-40 นาที เท่านั้น ซึ่งขึ้นกับอุณภูมิห้องขณะทำงานด้วย ดังนั้นการเคลือบสีพื้นอีพ็อกซี่ประเภทนี้ต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จึงจะทำการเคลือบสีนี้ได้ การติดตั้งก็ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่บริษัทผู้ผู้ผลิตแนะนำมาอย่างเคร่งคัด จึงจะได้พื้นที่มีคุณภาพ เมื่อพิจารณาเรื่องราแล้วพบว่า Solvent-Free มีราคาแพงกว่าตัวอื่น แต่เมื่อเปรียบเทียบความหนาที่ได้และความทนทานต่อการใช้งานที่เพิ่มขึ้นจะพบว่ามันคุ้มค่ากับการลงทุน เราพบว่า พื้นอีพ็อกซี่แบบ Solvent ทำการเคลือบพื้นได้เพียงรอบเดียวและสามารถทำความหนาได้ 300 ไมครอน ส่วน water based สามารถเคลือบได้หลายรอบแต่ก็ไม่สามารถทำความหนาได้เท่าตัว Solvent-Free, 100% solid content ที่สำคัญที่สุด เมื่อเราทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติของพื้นอีพ็อกซี่ต้องแน่ใจว่าเราได้อ่านตัว Product Data Sheet หรือ TDS ของมัน ซึ่งขอกับทางผู้ติดตั้ง ผู้ผลิตหรือโหลดเองทางอินเทอเน็ตได้ เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวจะบอกถึงองค์ประกอบ คุณสมบัติ การใช้งาน และการดูแลรักษาไว้ครบ ดังนั้นแล้วให้คุณผู้อ่านได้อ่านและเปรียบเทียบกัน แล้วท่านค่อยทำการตัดสินใจเลือกประเภท พื้นอีพ็อกซี่
กรุณาหาความรู้ ทำการศึกกษาข้อแตกต่างของพื้นอีพ็อกซี่แต่ละประเภทให้มากที่สุดเท่าที่มีเวลาทำได้ หากคุณต้องการจ้างหรือทำพื้นเอง พิจารณาให้แน่ใจว่าพื้นแบบไหนเหมาะสมกับความต้องการการใช้งานของคุณมากที่สุด เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน
|

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม