สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อปั๊มลม
สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อปั๊มลม
การจะตัดสินใจซื้อปั๊มลมหรือเครื่องมือลมนั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อประกอบการตัดสินใจดังนี้ - ประการแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องของแรงดันสูงสุด (max working pressure) ที่ต้องการใช้งาน เพื่อที่จะได้ตัดสินใจว่าจะซื้อเครื่องอัดลมแบบ single stage หรือ two stage - ประการที่สองคือ ต้องทราบถึงปริมาณลม (max air consumption หรือ max capacity) เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าจะซื้อเครื่องอัดลมขนาดใหญ่หรือเล็ก เป็นระบบ reciprocating type ซึ่งจะมีทั้ง oil flood, oil free, oil less type หรือ rotary screw type - ประการที่สามคือ ต้องการ clean air system ขนาดไหน ซึ่งจะมี accessories เพิ่มเติมดังนี้ - ถังบรรจุลม (air tank) ถ้าต้องการเพิ่มปริมาตรลม
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นอยู่ที่ความต้องการของแต่ละท่านว่าต้องการประสิทธิภาพของลมอัดละเอียดหรือสะอาดมากน้อยเพียงใด อีกทั้งควรจะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของห้องบรรจุเครื่องอัดลมว่ามีพื้นที่เท่าไร ระดับความสั่นสะเทือน อุณหภูมิแวดล้อม ช่วงเวลาการทำงาน ช่วงเวลาที่หยุดเครื่องเพื่อทำการตรวจบำรุงรักษา ช่วงเวลาการซ่อม ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลา ท่านควรจะจัดซื้อเครื่องอัดลมสองชุดเพื่อ stand by หรือไม่ ปั๊มลม : อุปกรณ์ที่ควรมีติดรถไว้ มี Case ประเภทรถเก่าจอดไว้นานๆ ไม่ได้ใช้จนเกิดอาการยางรั่ว ลมซึม ทำให้ขับรถออกไปไม่ได้ หรือปัญหาอื่นอะไรทำนองนี้ ซึ่งถ้ายังขืนขับออกไปนี่ก็มีสิทธิ์ยางปลิ้นออกจากระทะล้อกันเลยนะครับ มาถึงขนาดนี้ก็ลืมเรื่องแม่แรงที่จะมาใช้ยกรถ ถอดเปลี่ยนล้อ เพื่อขับรถออกไปปะยางซะเถอะครับ ปัญหาฉุกเฉินพวกนี้ พอจะมีทางเอาตัวรอดได้ถ้าคุณพอจะมีอุปกรณ์ช่วยติดรถไว้บ้าง ในที่นี้ผมหมายถึง ปั๊มลมขนาดเล็ก ครับ ปั๊มลมขนาดเล็ก สามารถพกพาได้สะดวก ซึ่งผมพกเป็นคู่หูคู่ใจติดท้ายรถผมไว้เสมอไม่ว่าจะไปไหนมาไหน วิธีใช้ก็ง่ายมากๆ แค่เสียบหัวเติมเข้ากับจุกลมของล้อรถ แล้วก็เอาปลายคีบไปคีบเข้ากับแบตเตอร์รี่รถยนต์ เพียงเท่านี้ก็เติมลมล้อรถได้แล้ว แต่ผู้รู้หลายท่านแนะนำว่าเหตุการณ์แบบนี้ควรเติมเผื่อจากระดับปกติไปอีกประมาณ 5-6 ปอนด์ เพราะเราไม่รู้ว่ารอยรั่วนั้นมันจะมีลมซึมออกมาเร็ว หรือมากน้อยขนาดไหน โดยเฉพาะตอนที่รถแล่นยางเกิดการขยับตัวและบิดไปมา จากนั้นก็รีบพารถไปหาร้านปะยางที่ใกล้ที่สุด กรณีของผมหลังจากเติมลมแล้วรถผมวิ่งได้ระยะทางประมาณ 3-4 กิโลเมตร โดยที่ยางและล้อยังอยู่ในสภาพปกติ ลมไม่ซึมออกมามาก ประโยชน์ - รถต้องแบกน้ำหนักเพิ่ม - แต่ถ้าปัญหามาจากอย่างอื่น ๆ เช่น ยางฉีกขาด ก็ไม่สามารถทำได้ อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ ถ้าพบว่ายางรถหมดลมชนิดแบนแต๊ดแต๋ หลังจากได้ปั๊มลมมาแล้ว อย่าเพิ่งใจร้อนรีบเสียบเข้ากับจุกล้อแล้วเติมเข้าไปทันที ควรนำรถขึ้นแม่แรงให้ล้อรถลอยขึ้นจากพื้นสักนิด เพื่อให้ลมสามารถไหลเข้าสู่ล้อได้อย่างสะดวก โดยที่กระทะล้อไม่กดทับยางเป็นการขัดขวางการไหลเข้าของลม เพราะไม่เช่นนั้นลูกสูบในกระบอกสูบของปั๊มลมจะพังอย่างแน่นอน และหลังจากที่เติมลมได้แล้วก็รีบแวะเข้าศูนย์บริการ หรือปั๊มจะดีกว่า มาที่การเลือกปั๊มลมสำหรับติดรถยนต์ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋าและความต้องการส่วนตัวจะดีกว่า เพราะตอนนี้ในท้องตลาดมีมากมายหลากหลายยี่ห้อให้เลือก แต่ไหนๆจะต้องเสียสตางค์กันทั้งที เอาของที่มันดีหน่อยน่าจะดีกว่า ท่านผู้รู้แนะนำผมมาว่าควรเป็นปั๊มลมแบบลูกสูบคู่ และมีขนาดกระบอกสูบที่ใหญ่หน่อย จะได้ในเรื่องของความทนทานในการใช้งาน ยิ่งกระบอกสูบใหญ่ ยิ่งทำลมเร็วแถมมาเป็นแพ็คคู่คุณก็จะได้ลมทันใจมากขึ้น เพราะอุปกรณ์ตัวนี้เราพกพาไว้เพื่อช่วยเหลือยามคับขัน โดยที่คุณจะได้ไม่เหนื่อยมากนัก อีกจุดที่ผมอยากเสนอด้วยตัวเอง คือแบบที่หนีบกับแบตเตอร์รี่ หลายคนคงคิดว่า ใช้แบบที่หนีบกับที่จุดบุหรี่สะดวกกว่า แต่สำหรับผมอยากจะแนะนำให้เลือกแบบที่หนีบกับแบตเตอร์รี่มากกว่า มันอาจสะดวกไม่เท่ากัน แต่การที่เสียบกับที่จุดบุหรี่มีข้อควรระวังคือ การใช้งานต่อเนื่องอาจทำให้เกิดความร้อนจนส่งผลให้ฟิวส์ของที่จุดบุหรี่ขาดได้ครับ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ไม่ว่าจะใช้แบบไหน ผมก็ภาวนาอย่าให้ใครต้องเดือดร้อนขนาดใช้มันเลยครับ เรียกว่ามีพกไว้เป็นยันต์กันเหนียวจะดีกว่า เพราะเกิดอะไรขึ้นมา.... มันช่วยไม่ได้
ขั้นตอนที่ 1 เลือกปั๊มน้ำที่มีถังความดันประกอบสำเร็จเป็นชุด เพราะจะมีผลต่อการรักษาความดันของน้ำในการใช้งานและช่วยประหยัดพลังงาน ควรติดตั้งระบบน้ำของปั๊มให้สามารถเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อลดการใช้พลังงานในการสูบน้ำภายในบ้านเช่น ควรตั้งถังเก็บน้ำไว้ที่ชั้นบนสุดของบ้าน ขั้นตอนที่ 2 เลิกเปิดปั๊มน้ำทิ้งไว้เมื่อไม่อยู่บ้านหรือไม่ใช้งานนาน ๆ และปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้ง น้ำหยดเพียงเล็กน้อยติดต่อกันนาน ๆ ก็ทำให้ปั๊มน้ำเดินเครื่องได้ อย่าเปิดก๊อกน้ำไปที่ระดับแรงสูง ๆ เพราะปั๊มจะทำงานหนักและสิ้นเปลืองน้ำ ขั้นตอนที่ 3 เลิกซักผ้าหรือล้างถ้วยชามหรือล้างผลไม้โดยตรงจากก๊อกน้ำทีละชิ้น จะทำให้สิ้นเปลืองทั้งน้ำและไฟฟ้า ขั้นตอนที่ 4 ไม่ควรใช้ปั๊มน้ำเพื่อใช้ในการฉีดน้ำรดต้นไม้หรือสนามหญ้า ควรใช้น้ำจากการซักล้างหรือหลีกเลี่ยงโดยต่อน้ำจากก๊อกน้ำปกติที่ไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำ
ข้อมูล : http://www.hardwaremart.net/ |

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม