10 คำน่ารู้ของคนทำงานปี 2020 รวมลิสต์ 10 คำศัพท์ที่คนทำงานยุคดิจิทัลต้องรู้ เพื่อปรับตัวและพัฒนาเพื่อรับโอกาสจากความท้าทายที่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การทำงานเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทั้งการเปลี่ยนแปลงในมิติของเทคโนโลยี พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ฯลฯ ซึ่งมีส่วนทำให้การทำงานแตกต่างไปจากเดิม และการทำงานแบบเดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป
“Bottom Line” รวบรวมคำศัพท์ 10 คำ ที่มีเข้ามามีอิทธิพลต่อการทำงานในศักราช 2020 นี้
NextGen Work หรือ การทำงานรูปแบบใหม่ของคนยุคใหม่ คือ ลักษณะการทำงานที่เน้นอิสระในการเลือกงานและจัดระบบการทำงานของแต่ละคน ซึ่งเอื้อให้สามารถจัดการเวลาการทำงานกับการใช้ชีวิตส่วนตัวให้เกิดความสมดุลตามความต้องการ และยังเอื้อให้สามารถรับงานจากผู้ว่าจ้างหลายที่พร้อมกันได้ นั่นหมายความว่าคนทำงานจะมีโอกาสสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง
Agile คือแนวทางการทำงานที่องค์กรธุรกิจ เริ่มนำมาใช้ในการทำงานในยุคดิจิทัล เนื่องจาก Agile คือแนวทางการทำงานอย่างรวดเร็ว กระชับ งบไม่บานปลาย อีกทั้งมีความยืดหยุ่น และพร้อมปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงรอบข้างได้เสมอ
ซึ่งการประยุกต์ใช้แนวคิดแบบ Agile สามารถใช้ได้กับการทำงานในแบบอื่นๆ มิได้จำกัดแค่ในแวดวง IT หรือ Software Development โดยการทำงานลักษณะนี้ต้องอาศัยมุมมอง และวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ของผู้บริหาร การปรับตัวของคนในองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งการทำงานแบบ Agile เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย การเตรียมตัวพร้อมรับการทำงานในรูปแบบที่เปลี่ยนไปในลักษณะนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ มีส่วนช่วยให้ปรับตัวได้ทันการทำงานแบบใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Digital Disruption การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยมีผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีสู่ระบบดิจิทัล ที่ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แต่นำไปสู่รูปแบบการทำงานใหม่ๆ โมเดลธุรกิจแบบใหม่ วิถีชีวิตของผู้คนที่สะดวกสบายขึ้น แม้ Digital Disruption จะเริ่มส่งผลกระทบมาตั้งแต่ช่วง 5 ปีก่อน แต่ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในศักราช 2020 นี้ และจะส่งผลกระทบกับผู้ที่ไม่ปรับตัวชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
AI (Artificial Intelligence) มีความหมายเป็นภาษาไทยว่าปัญญาประดิษฐ์ นับเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ทางเทคโนโลยีที่มาแรง ในปีที่ผ่านมาใครๆ ก็บอกว่า AI จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของผู้คนจำนวนมาก เนื่องจาก AI ทำหน้าที่เป็นมันสมองของเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งมีลักษณะกลไกการทำงานคล้ายๆ กับสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนขั้นตอนการเรียนรู้ การคิด การกระทำ การตัดสินใจ การปรับตัว การแก้ปัญหา ซึ่งบทบาทเหล่านี้เริ่มเข้ามาทำหน้าที่แทนการทำงานของมนุษย์บางส่วน โดยเฉพาะงานในลักษณะที่ไม่ต้องอาศัยฝีมือ และงานรายวันที่ทำเป็นประจำ (Routine)
IoT (Internet of Things) หรือที่เรียกว่า “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” ในภาษาไทย หมายถึง วัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งของเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีการฝังตัวของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ ทำให้สามารถเก็บบันทึกข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือควบคุมได้จากระยะไกล การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้พลิกกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องใช้มนุษย์ในการดำเนินการ เปลี่ยนเป็นการควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ต หรือตั้งระบบอัตโนมัติแทน เช่น การใช้ IoT ในทางการผ่าตัดจากทางไกล โดยให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญใช้อุปกรณ์ผ่าตัดที่เชื่อมระบบ IoT ได้เสมือนอยู่ในสถานที่เดียวกัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นไปได้ในอนาคตไม่ไกลจากนี้
Big Data หรือคลังข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการนำมาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำมาต่อยอด พัฒนาองค์กร ให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตรวบรวมข้อมูลการซื้อสินค้าและพฤติกรรมการใช้จ่ายของลูกค้ามาเพื่อวิเคราะห์ถึงความสนใจ เพื่อนำไปสู่การเสนอขายสินค้าที่ตรงความต้องการของลูกค้าแต่ละคนในเวลาที่เหมาะสม ช่วยสร้างความประทับใจกับกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มยอดขายได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งในมิติของคนทำงานจะต้องพยายามทำความเข้าใจ เรียนรู้การใช้ข้อมูลที่ไหลบ่า ให้เกิดประโยชน์ในมิติของการพัฒนาตัวเอง และการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ได้
Startup (สตาร์ทอัพ) เป็นการทำงานที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ ขายไอเดียที่มีการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันเป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ หรือสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน โดยจะเติบโตได้จากการใช้งานของลูกค้าผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งนี้ เจ้าของธุรกิจกลุ่มสตาร์ทอัพจะได้รายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการ หลังจากที่มีการลงทึนเพียงแค่พัฒนาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ที่ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก แต่สามารถขยายกิจการได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากกว่าธุรกิจแบบเอสเอ็มอี
โดยตัวอย่าง (อดีต) สตาร์ทอัพที่เติบโตมาเป็นยักษ์ใหญ่ของโลกที่ผ่านๆ มา คือ Google, Paypal, Twitter และ Facebook การเกิดของสตาร์ทในช่วงที่ผ่านมา ช่วยเปิดโอกาสทางธุรกิจสำหรับคนที่มีไอเดียเจ๋งๆ ผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในวงกว้าง และเป็นจุดเปลี่ยนให้ธุรกิจไม่ใช่แค่ห่วงโซ่ของ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” อีกต่อไป
Digital footprint คือ ร่องรอยของข้อมูลที่เราทิ้งไว้ขณะใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ข้อความหรือรูปที่เคยโพสต์ เว็บไซต์ที่เคยเข้าไปชอปปิง ข่าวที่ชอบอ่าน หรือแม้แต่การคอมเมนต์ต่างๆ ที่ผ่านมา ร่องรอยดิจิทัลนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือร่องรอยดิจิทัลแบบแพสซีฟ (Passive digital footprint) หมายถึงร่องรอยที่เราทิ้งไว้โดยไม่ตั้งใจแต่คนอื่นกลับดันมาเห็น ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเยี่ยมชมเว็บไซต์ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะล็อกไอพี (IP address) ซึ่งสามารถระบุผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และที่อยู่ หรือประวัติการค้นหาของคุณที่บริการเสิร์ชเอ็นจิ้นเก็บเอาไว้ อีกประเภทคือ ร่องรอยแบบแอ็กทีฟ (Active digital footprint) ซึ่งหมายถึงร่องรอยที่เราทิ้งไว้โดยตั้งใจ ตัวอย่างเช่น การโพสต์ถึงความรู้สึก, การส่งอีเมล์หาเพื่อน ซึ่งถูกบันทึกไว้ด้วยตัวของเราเอง
สาเหตุ Digital footprint เข้ามามีความเข้าสำคัญกับการทำงานในโลกยุคใหม่ เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจถูกค้น หรือตรวจสอบจากบริษัทที่ไปสมัครงาน เพื่อดูพฤติกรรมของผู้สมัคร การโพสต์ภาพ การแสดงทัศนคติ ซึ่งจะสะท้อนตัวตนและแนวคิดเกี่ยวกับการทำงาน เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจรับเข้าทำงาน หรือส่งผลต่อตัวเองในอนาคตได้แบบไม่คาดคิด ดังนั้นก่อนโพสต์ หรือทำอะไรในโลกอินเทอร์เน็ตอย่างลืมไตร่ตรองให้ดี และคิดถึงผลลัพธ์ที่จะตามมาเสมอ
NDID ย่อมาจาก National Digital ID คือหน่วยงานที่เปิดขึ้นเพื่อสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยพิสูจน์และยืนยันตัวตนของประชาชนไทยในการทำธุรกรรมหรือใช้เอกสารต่างๆ ของทางราชการ ช่วยลดความซ้ำซ้อนของหลายหน่วยงาน ช่วยลดความสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร และลดภาระแก่ผู้แสดงตนและผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตน ซึ่งการทำงานในอนาคตโดยเฉพาะงานด้านธุรกรรม หรือราชการ จะมีระบบนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง
Reskill/Upskill หมายถึงการพัฒนาทักษะของพนักงานในยุคดิจิทัล ที่จำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานให้กับตัวเอง โดย "Reskill" เพิ่มทักษะใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การจัดข้อมูลจำนวนมหาศาล การทำงานแบบ Agile การใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อสามารถทำงานสอดคล้องกับเทคโนโลยี และแนวโน้มการทำงานในอนาคต
ส่วน "Upskill" หมายถึง การพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่ให้แข็งแกร่งมากขึ้น และสามารถปรับใช้ในบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นได้ โดยการพัฒนาตัวเองทั้ง 2 รูปแบบนี้มีความสำคัญอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาแทนที่งานบางส่วนของมนุษย์ หากไม่พัฒนาตัวเองมีศักยภาพมากกว่าขั้นพื้นฐานจะเสียโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หรืออาจถูกเทคโนโลยีแทนที่ได้ในที่สุด
แนวโน้มการทำงานในยุคดิจิทัล ดิสรัปชัน จะต้อนรับแค่คนที่พยายามปรับตัว พัฒนา และไม่ติดกับความสำเร็จเดิมๆ
ขอบคุณที่มา : Bottomline
ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE Thaipurchasing

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม