คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อน

2.0K



คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อน

1. ฉนวนใยแก้วหรือไฟเบอร์กลาส = ฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ประกอบด้วยเส้นใยไฟเบอร์เล็ก ๆ ทนความร้อนได้สูง ไม่ติดไฟ ทั้งยังมีคุณสมบัติป้องกันเสียงรบกวนได้ รวมถึงมีคุณสมบัติป้องกันความชื้นสูง มีทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น น้ำหนักเบา ทนทาน มักนำไปใช้กับ โครงสร้างหลังคา หลังคาเหล็กรีด หลังคากระเบื้องซีเมนต์ ฝ้าเพดาน ผนัง

 

2. ฉนวนประเภทเซลลูโลส = ผลิตจากเยื่อไม้หรือเยื่อกระดาษ โดยมีส่วนผสมของสารเคมีอย่าง Borax และ Boric Acid สามารถกันความร้อนได้ถึง 90% และด้วยความที่ผลิตจากเยื่อไม้หรือกระดาษจึงจำเป็นต้องใส่สารป้องกันการติดไฟ ฉนวนประเภทนี้มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดีพอๆกับชนิดใยแก้ว ทั้งยังกันเสียงได้ดีจึงมักนำไปใช้กับ ห้องประชุม หรือ ห้องซ้อมดนตรี

 

3. ฉนวนประเภทโฟมโพลีเอทิลีน PE = ฉนวนประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่นเหนียวนุ่ม มีแผ่นฟอยล์บาง ๆ หุ้มเคลือบผิว ทนร้อน น้ำหนักเบา ทนแรงกระแทก ที่สำคัญทนต่อการกัดกร่อน จึงมักถูกนำไปใช้ในโรงงานเคมีที่มีไอระเหยเพื่อปกป้องหลังคา

 

4. ฉนวนประเภทโฟมโพลียูริเทน PU = เป็นเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อน เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องระบายความร้อน อย่างไรก็ตามฉนวนชนิดนี้มีจุดหลอมเหลวต่ำ หากโดนความร้อนสูงติดต่อกันเป็นเวลานาอาจเปลี่ยนสภาพหรือติดไฟได้

 

5. ฉนวนใยหินร็อควูล = ผลิตจากหินธรรมชาติผ่านกระบวนการผลิตที่อุณหภูมิสูงถึง 1,300 องศาเซลเซียส หลอมเหลวเป็นเส้นใยและเคลือบด้วยสารผนึกเทอร์โมเซตติ้ง ไม่ติดไฟ ไม่ลามไฟ น้ำหนักเบา ดูดซับเสียงได้ดี นิยมใช้ใต้หลังคา ระบบกันไฟ ผนังกันความร้อน ผนังกันเสียง

 

6. อะลูมิเนียมฟอยล์ = เป็นแผ่นเคลือบอะลูมิเนียมที่ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี เหนียวคงทนไม่ขาดง่าย ราคาประหยัด

 

และทั้งหมดนี้ก็คือประเภทฉนวนกันความร้อนที่นิยมใช้กันอยู่ ซึ่งแต่ละชนิดก็เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายแตกต่างกันไป แต่ที่แน่ ๆ จะทำให้บ้านเย็นลงได้แน่นอน ท่านเจ้าของบ้านควรศึกษาความเหมาะสม ประเภทการใช้งานอย่างละเอียดก่อนลงมือติดตั้ง อีกสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงสำหรับเจ้าของบ้านในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างนั่นก็คือเลือกวัสดุซ่อมสร้างที่ได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดขยะน้อยที่สุด

 

 

ติดตามบทความดีดีได้ใน ชม ชอบ แชร์ ไปกับไทยเพอเชสซิ่งกันนะคะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://promotions.co.th/

 

 

 

 

ติดตามบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มารู้จักฉนวนกันความร้อนกันเถอะ

คำถามที่พบบ่อยของฉนวนกันความร้อน

วิธีเลือกฉนวนกันความร้อนให้เหมาะแก่การใช้งาน

การบำรุงรักษาฉนวนกันความร้อน

 

 

 

 

                      

sendLINE

Comment