คุณสมบัติของปั๊มลม

1.3K



คุณสมบัติของปั๊มลม

 

1. ปั๊มลมแบบลูกสูบ (PISTON AIR COMPRESSOR)

หลักการทํางานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกําลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทําให้เกิดแรงดูดและอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์ว ทางออกทํางานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย โดยปั๊มลมชนิดนี้ สามารถสร้างความดันหรือแรงดันลมได้ตั้งแต่ 1 bar ไปจนถึง 1,000 bar โดยแรงอัดจะขึ้นอยู่กับจํานวนขั้นของการอัด ยิ่งขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างแรงอัดได้สูงขึ้นตามไปด้วย

 

2. ปั๊มลมแบบสกรู (SCREW AIR COMPRESSOR)

เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปเพราะเครื่องปั๊มลม หรือ Air Compressor ประเภทนี้จะให้การผลิตลมที่มีคุณภาพสูง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกําลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวขบเข้าหากัน ซึ่งเรียกว่า เพลาตัวผู้และเพลาตัวเมีย โดยให้เพลาสกรู 2 ตัวหมุนเข้าหากันทําให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา ทําให้แรงดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไป อีกด้านหนึ่งได้ โดยเครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทสามารถทําให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาทีเลยทีเดียว

 

3. ปั๊มลมแบบไดอะเฟรม (DIAPHARGM AIR COMPRESSOR)

เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทํางานของคล้ายลูกสูบแต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบ ทําให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ำมันหล่อลื่นสามารถสร้างแรงดันได้สูงคล้ายปั๊มลูกสูบขึ้นอยู่กับการออกแบบขั้นในการอัดปั๊มลมชนิดนี้ ลมที่ได้ออก มาจะเป็นลมที่สะอาดไม่มีอะไรปนเปื้อน

 

4. ปั๊มลมแบบใบพัดเลื่อน (SLIDING VANE ROTARY AIR COMPRESSOR)

คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทําให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอและคงที่ เครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จํากัดทําให้ไวต่อความร้อน สามารถกระจายแรงลมได้ 4 - 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันของลมอยู่ที่ 4 - 10 บาร์

 

5. ปั๊มลมแบบใบพัดหมุน (R00TS AIR COMPRESSOR)

ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทําการหมุน จะทําให้ลมถูกดูดเข้าไปจาก ฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร ทําให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมี การระบายความร้อน

 

6. ปั๊มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW AIR COMPRESSOR)

เป็นปั๊มลมอีกประเภทหนึ่งที่มีการจ่ายอัตราลมที่มาก เนื่องจากลักษณะจะเป็นใบพัดกังหันดูดลมเข้าจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ตามแกนด้วยการหมุนที่มีความเร็วสูง และลักษณะของใบพัดก็เป็นส่วนสําคัญเรื่องอัตราการจ่ายลม สามารถกระจายแรงลมได้ตั้งแต่ 170 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min)

 

 

ติดตามบทความดีดีได้ใน ชม ชอบ แชร์ ไปกับไทยเพอเชสซิ่งกันนะคะ

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล จาก https://www.mechanika.co.th/

sendLINE

Comment