แสงสีฟ้า (Blue Light) จากจอมือถือ ผลกระทบร้ายต่อเซลล์ประสาทตา

3.1K



แสงสีฟ้า (Blue Light) จากจอมือถือ ผลกระทบร้ายต่อเซลล์ประสาทตา

เทคโนโลยีถ้าเราใช้งานเป็นมันก็มีประโยชน์ ช่วยอำนวยความสะดวก แต่ถ้าเกินจำกัดความพอดีบางครั้งก็อาจจะส่งผลทางลบได้ จะนำเสนอเกี่ยวกับแสง ซึ่งปัจจุบันมองไปทางใหนก็จะมีแต่คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จ้องมองหน้าจอสมาร์ทโฟนกัน ซึงจอโทรศัพท์มือถือเหล่านี้เป็น LED และมาดูกันว่าแสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันนี้แบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 7 สี (สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสดและแดง) แสงสีน้ำเงินเป็นสีที่ให้ความสว่างมากที่สุด ขณะเดียวกันก็ทำให้ดวงตาเป็นอันตรายได้มากที่สุดด้วย

     แสงสีน้ำเงินหรือแสงสีฟ้า (Blue light) คือแสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง (High-energy visible light = HEV light) ครอบคลุมช่วงความยาวคลื่น 400-500 นาโนเมต เป็นหนึ่งในแสงที่สามารถทะลุทะลวงได้ถึงจอประสาทตา มีพลังทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาได้มากกว่าแสงสีอื่น โดย HEV มีความเกี่ยวพันกับโรคจอประสาทตาเสื่อม (Aged-related macular degeneration : AMD)

     รู้หรือไม่ว่าแสงสีฟ้า (Blue Light) คือ แสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง (HEV) ใกล้เคียงรังสียูวี (Near UV) อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 500 นาโนเมตร ซึ่งมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา เช่น แสงอาทิตย์ แสงไฟ แสงจากหน้าจอLED อุปกรณ์ display ต่างๆ เป็นต้น โดยแสงสีฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

  • แสงสีม่วงในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร
  • แสงสีน้ำเงินในช่วงความยาวคลื่น 450 – 500 นาโนเมตร

แต่ช่วงแสงสีฟ้าที่ทำอันตรายต่อดวงตาได้ลึกมากที่สุดและเรามักเพ่งมองบ่อยๆ จากการใช้งานหน้าจอ จะอยู่ในช่วงความยาวคลื่น 380 – 450 นาโนเมตร


image :
https://www.androidcentral.com/sites/androidcentral.com/files/styles/xlarge/public/article_images/2016/07/android-brightness-hero-01.jpg?itok=EhyXQMZK

อันตรายจากแสงสีฟ้าที่มีผลต่อดวงตา

     แสงที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง ไม่อาจถูกบดบังด้วยตัวกรองทางสรีรวิทยา เช่น น้ำตา กระจกตา แก้วตา น้ำหล่อเลี้ยงตา แสงสีฟ้าจึงสามารถเดินทางเข้าถึงจอประสาทตาได้ และไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายเซลล์จอประสาทตา จากการศึกษาบ่งชี้ว่า ความสามารถของดวงตาที่จะจัดการกับอนุมูลอิสระ และกระบวนการ Oxidative Stress ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม

    นอกจากนี้ แสงสีน้ำเงินยังมีส่วนสัมพันธ์กับการสร้างเมลาโทนินที่ช่วยให้ร่างกายนอนหลับ โดยนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าแสงสีน้ำเงินที่ช่วงความยาวคลื่น 415-445 นาโนเมต สามารถขัดขวางการสร้างเมลาโทนินได้

     แสงสีฟ้ามีคุณสมบัติในการยับยั้งการหลั่ง เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยการกระตุ้นการปรับเปลี่ยนระบบนาฬิกาของร่างกาย กล่าวคือ ช่วยในการนอนหลับพักผ่อน เมื่อเมลาโทนินถูกยับยั้งให้หลั่งน้อยลง จึงทำให้นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

     เมื่อใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิเตอร์ต่างๆ จึงควรดูแลและถนอมสายตาด้วย พยายามหลีกเลี่ยงการเล่นในที่มืดหรือสว่างมากเกินไป และควรพักสายตาบ่อยๆ

     แสงสีน้ำเงินมีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน ทั้ง หลอด LED (Light Emitting Diode หรือ ไดโอดเปล่งแสง) คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต โทรทัศน์ ฯลฯ ผู้ที่ใช้อุปกรณ์ให้แสงสีน้ำเงินในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น เล่นสมาร์ทโฟนในที่มืด ปิดไฟดูโทรทัศน์ รวมถึงอาชีพที่ต้องใช้แสง เช่น ช่างเชื่อมเหล็ก หรือผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ล้วนมีปัจจัยเสี่ยงภัยจากแสงสีน้ำเงินทั้งสิ้น
The U.S. National Library of Medicine’s PubMed ได้เปิดเผยถึงผลการศึกษาว่า

  • แสงสีน้ำเงินเป็นมลภาวะที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogenic pollution) เพราะจากการทดลองในหนูพบว่าแสงสีน้ำเงินมีส่วนสัมพันธ์กับอัตราการเป็นมะเร็งที่สูง
  • การขาดเมลาโทนินมีส่วนสัมพันธ์กับการเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ และมะเร็งต่อมลูกหมากที่สูง
  • การได้รับแสงสีน้ำเงินมีผลต่ออารมณ์
  • การได้รับแสงที่มากอาจเป็นสาเหตุให้จอตาเสีย (Retinal toxicity)
  • แสงสีน้ำเงินเป็นสาเหตุสำคัญของการเป็นต้อกระจก (Cataracts) และจอประสาทตาเสื่อม (Macular degeneration)

สำหรับวิธีป้องกัน และรักษาตัวเองแบบง่ายๆ ได้แก่

  • นอนหลับให้ได้ 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มาก เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อดวงตา อาทิ ส้ม ฝรั่ง ฟักทอง มะละกอ
  • ควรเปิดไฟดูทีวี อ่านหนังสือ ใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในที่ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ
  • หากต้องพบกับแสงหรือใช้งานอุปกรณ์ที่มีแสงเป็นเวลานาน สามารถพักสายตาด้วยการหลับตา หรือกะพริบตา และมองไปที่พื้นที่สีเขียวซักครู่
  • ตรวจเช็คดวงตา อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

รู้อย่างนี้แล้วควรหาทางป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ หน้าจอสมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ ดวงตาเป็นสิ่งสำคัญ การจ้องมองหน้าจอนานๆ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการ chat บนโลก social หรือไมก็เด็กหรือวัยรุ่นก็จะเล่นเกมส์โดยที่ไม่ได้รู้ตัวว่าเซลล์จอประสาทนั้นกำลังถูกทำลาย ในส่วนเด็กๆควรสนับสนุนให้อ่านหนังสือจะดีที่สุด เนื่องจากสามารถหลีกเลื่ยงจากแสงสีฟ้าที่จะกระทบต่อเซล์ประสาทตาโดยตรง

ที่มาข่าวจาก : www.numsai.com
ภาพประกอบ :
http://s3.amazonaws.com/digitaltrends-uploads-prod/2015/07/Does-blue-light-really-affect-your-sleep.jpg


ลงทะเบียนเข้างาน Pre-VISITOR Online ได้แล้ววันนี้ พร้อมลุ้นจับรางวัลของรางวัลพิเศษภายในงานทุกวัน :
ลงทะเบียน คลิ๊กเลย!!!

Pre Register ASEAN Fair 2017

 

sendLINE

Comment