3 เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ ขออนุญาตส่งออก-นำเข้าสินค้าไป สปป.ลาว
"ภาครัฐประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ถึงความนิยมสินค้าไทยในประเทศลาว โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ประชาชนลาวนิยมของนำเข้าจากต่างประเทศมากกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศ เนื่องจากศักยภาพการผลิตของประเทศลาวยังไม่ได้รับความเชื่อมั่นเท่ากับสินค้าที่นำเข้า โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศไทย" วันนี้จึงขอแนะนำกฎระเบียบต่างๆ สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าไป สปป.ลาว มาฝากกัน จะมีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย
กฎระเบียบการส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศลาว
สินค้าขาเข้าประเทศลาว แบ่งออก 4 ประเภท
1. สินค้าทั่วไปตามแผนการนำเข้า ผู้ประกอบการ SME ไทย ต้องเสนอแผนการนำเข้าของตนเองใน 6 เดือน หรือ 1 ปี ทำการแจ้งให้แผนกอุตสาหกรรมและการค้าแขวง หรือนครหลวงเวียงจันทน์รับทราบ และนำแผนดังกล่าวไปแจ้งไว้กับหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service) ในการนำเข้าสินค้าแต่ละครั้ง
2. รถและส่วนประกอบของรถ ผู้ประกอบการ SME ไทย ทำการยื่นเอกสารต่อกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เพื่อขออนุญาตด้านเทคนิค ส่วนอะไหล่และส่วนประกอบของรถต้องยื่นเอกสารขออนุญาตผ่านกรมการนำเข้าและส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า จากนั้นให้ผู้ประกอบการ SME ไทยนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นกรมภาษี เพื่อเสียภาษีอากรตามระเบียบการ และหลังจากนั้นนำเอกสารทั้งหมดกลับคืนมากรมการนำเข้าและส่งออก เพื่อขอใบอนุญาตนำเข้าและไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service)
3. สินค้าหวงห้าม ผู้ประกอบการ SME ไทย ต้องเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการอนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้วให้ทำการยื่นต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จากนั้นกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอต่อห้องว่าการสำนักงานนายกรัฐมนตรี เพื่อขออนุญาต เมื่อได้รับการอนุญาตแล้ว ผู้ประกอบการ SME ไทยที่ต้องการนำเข้า จะต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service)
4. สินค้าแขนงการคุ้มครอง ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้วให้ทำการยื่นต่อแขนงการที่เกี่ยวข้อง (กระทรวง หรือ แผนกการของแขวงหรือนครหลวงเวียงจันทน์) เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน (One Stop Service) เพื่อขอนำเข้าสินค้า
สำหรับสินค้าขาออก มีขั้นตอนต่อไปนี้
1. สินค้าทั่วไป ผู้ประกอบการ SME ไทย ทำการยื่นเอกสารต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้า
2. สินค้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าคุ้มครอง (เพชรหยาบและเพชรที่เจียระไนแล้ว) ให้ผู้ประกอบการ SME ไทย ยื่นเอกสารต่อกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเพื่อขอใบอนุญาตส่งออก จากนั้นจึงนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้า
3. สินค้าหวงห้าม ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้วให้ทำการยื่นต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กระทรวงที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอต่อห้องว่าการสำนักงานนายกรัฐมนตรีเพื่อขออนุญาต เมื่อได้รับการอนุญาตแล้วผู้นำเข้าต้องนำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียว (One Stop Service) เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้าออก
4. สินค้าแขนงการคุ้มครอง ผู้ประกอบการ SME ต้องเตรียมเอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต ได้แก่ ใบเสนอ ใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) และเอกสารแสดงรายการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
เมื่อผู้ประกอบการ SME ไทยเตรียมเอกสารทั้ง 3 แล้ว ทำการยื่นต่อแขนงการที่เกี่ยวข้อง (กระทรวงหรือแผนกการของแขวงหรือนครหลวงเวียงจันทน์) เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งต่อหน่วยงานบริการผ่านประตูเดียวประจำด่าน (One Stop Service) เพื่อตรวจตราและปล่อยสินค้าออกการตรวจตราการขนส่งสินค้าตามเส้นทางสายต่างๆ ภายในประเทศนั้น ทาง สปป.ลาว ให้ปฏิบัติตามประกาศของนายกรัฐมนตรี ฉบับเลขที่ 12/นย. ว่าด้วยการยุติการตรวจตราการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าบริการต่าง ๆ นอกระบบ ในการเคลื่อนย้ายสินค้าตามเส้นทางสายต่าง ๆ อยู่ภายในประเทศอย่างเข้มงวด
***สินค้าใดบ้างที่ลาวสนใจนำเข้าจากไทย***
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ได้เสนอรายชื่อสินค้าไทยที่น่าจะมีศักยภาพสูงสุดใน สปป.ลาว จำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารโดยรวม) 2) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ และ 3) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ระบุว่า “สินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง” อย่างเช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ ก็มีแนวโน้มเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากภาคการก่อสร้างใน สปป.ลาว ขยายตัวสูงกว่าร้อยละ 15 ในปี 2555 ทำให้ปูนซีเมนต์ขาดตลาดอย่างมากใน สปป.ลาว โดยเห็นว่า ผู้ประกอบการไทยควรเน้นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับผู้ประกอบการในสาขาที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว ควบคู่กับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ใน สปป.ลาวให้ผู้ประกอบการไทยรับทราบมากขึ้น
ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : https://www.bangkokbanksme.com/article/6226
ASEAN FAIR 2017 งานที่คุณสามารถขายสินค้า หาตัวแทนจำหน่าย สร้างเครือข่าย และขยายธุรกิจ สร้างมูลค่าได้มากกว่า 1800 ล้านบาท ภายใน 3 วัน พบกัน
13-15 ตุลาคม 2560 ณ สะหวันไอเตค แขวงสะหวันนะเขต
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
Tel. : 02-192-1685-6
Fax : 02-192-1689
Mobile : 086-310-2493 (K.แอม), 086-303-5847 (K.ตั้ม)
e-Mail : marketing@thaipurchasing.com

Comment
New!

งานสัมมนา PINGs ครั้งที่ 35 โฉมใหม่ พิเศษกว่าเดิม งานนี้ฟรีตลอดงาน

พลังแห่งการดีไซน์ เสน่ห์มัดใจ สไตล์ “SMEG”

เมเจอร์ดึง AI หนุนแอพพลิเคชั่น หวังเอาใจคอหนังรุ่นใหม่

ฮ่องกงในมุมต่าง แทบไม่เชื่อว่าที่เดียวกัน ผจญภัย เอาท์ดอร์ที่ฮ่องกง แบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม

จัดเต็ม! รวมร้านบุฟเฟ่ต์ทะเลเผา เอาใจคนชอบกิน