สปป.ลาว จากดินแดน แลนด์ล็อค ไปสู่ แลนด์ลิงค์ เส้นทางขนถ่ายสินค้าสู่ตลาดโลก
สปป.ลาว เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจาก Land Lock ไปสู่ Land Link ด้วยเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก – ตะวันออก (East-West Economic Corridor) ระหว่างพม่า-ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม (ระยะทางใน สปป.ลาว 245 กม.) โดยมีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เป็นจุดเชื่อมไทย-ลาว ทำให้ สปป.ลาวมีทางออกสู่ทะเลทั้งที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทย และท่าเรือดานังของเวียดนามที่เป็นทางเลือกในการขนถ่ายสินค้าออกสู่ตลาดโลก และเส้นทางหมายเลข R3A ที่เป็นเส้นทางแห่งหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
ตามระเบียงเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมต่อระหว่างไทย (อ.เชียงของ จ.เชียงราย) – สปป.ลาว (แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทา) – จีน (สิบสองปันนา-คุนหมิง) เส้นทางใน สปป.ลาว ยาวประมาณ 247 กม. แล้วเสร็จเมื่อ ก.พ.2551 และเส้นทางในจีน แล้วเสร็จในปี 2552 โดยมีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 เป็นจุดเชื่อมไทย-ลาว (กำหนดแล้วเสร็จในปี 2555) ทำให้สปป.ลาวกลายเป็นสะพานเชื่อมอินโดจีน (Land Bridge)
โอกาสทางการค้าที่ส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าระหว่างไทยกับ สปป.ลาว
1. เศรษฐกิจของ สปป.ลาว มีอัตราการเติบโตในระดับสูง GDP Growth ที่สูงขึ้นทุกปี ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อกำลังซื้อที่มากขึ้นด้วย
2. รัฐบาลไทยมีนโยบายและกำหนดทิศทางความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่ชัดเจนและจริงจัง
3. สปป.ลาว เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจาก Land Lock ไปสู่ Land Link ด้วยเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก – ตะวันออก (East-West Economic Corridor) ระหว่างพม่า-ไทย-สปป.ลาว-เวียดนาม (ระยะทางใน สปป.ลาว 245 กม.) โดยมีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เป็นจุดเชื่อมไทย-ลาว ทำให้ สปป.ลาวมีทางออกสู่ทะเลทั้งที่ท่าเรือแหลมฉบังของไทย และท่าเรือดานังของเวียดนามที่ทางเลือกในการขนถ่ายสินค้าออกสู่ตลาดโลก และเส้นทางหมายเลข R3A ที่เป็นเส้นทางแห่งหนึ่งในโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ
ตามระเบียงเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมต่อระหว่างไทย (อ.เชียงของจ.เชียงราย) – สปป.ลาว (แขวงบ่อแก้ว แขวงหลวงน้ำทา) – จีน (สิบสองปันนา-คุนหมิง) เส้นทางใน สปป.ลาว ยาวประมาณ 247 กม. แล้วเสร็จเมื่อ ก.พ.2551 และเส้นทางในจีน แล้วเสร็จในปี 2552 โดยมีสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 เป็นจุดเชื่อมไทย-ลาว (กำหนดแล้วเสร็จในปี 2555) ทำให้สปป.ลาวกลายเป็นสะพานเชื่อมอินโดจีน (Land Bridge)
ดังนั้น ถนนทุกสายจึงหันมาสนใจการลงทุนทำการค้ากับ สปป.ลาว มากขึ้น เพราะระบบ Logistics ที่มีการเปลี่ยนแปลงการคมนาคมขนส่งที่ถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมอง สปป.ลาว ทะลุไปยังเวียดนาม และจีน
4. สปป.ลาว อยู่ท่ามกลางประเทศเศรษฐกิจดาวรุ่งทางเหนือติดจีน(ยูนนาน 43 ล้านคน) ตะวันตกเป็นไทย (65 ล้านคน) ด้านตะวันออกเป็นเวียดนาม (83 ล้านคน) และทางตอนใต้เป็น สปป.ลาว (13 ล้านคน) เฉพาะตลาดตามรอยตะเข็บชายแดน มีประชาชนไม่ต่ำกว่า 200 ล้านคน กล่าวได้ว่า สปป.ลาว อยู่ท่ามกลาง “ทะเลคน” รอบด้านเป็นประเทศที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น หากมีการบริหารจัดการที่ดีเป็นโอกาสในการฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็ว
5. สปป.ลาว จัดอยู่ในประเทศยากจนแต่มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ที่มีค่าเช่าถือครองที่ดินที่ไม่สูงมากนักและสามารถเช่าได้ในระยะเวลานานพอสมควร มีแร่ธาตุต่างๆ แทบทุกชนิดเช่น ถ่านหินลิกไนต์ ดีบุก ยิปซั่ม ตะกั่ว สังกะสี บ็อกไซต์เหล็ก ทองแดงอัญมณี ไปจนถึงเหมืองทองคำขนาดใหญ่ในเอเชีย ที่รู้จักในนามของเหมืองเซโปน แขวงสะหวันนะเขต เป็นเหตุให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนกันมากขึ้น
6. สปป.ลาว มีนโยบายในการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ 20,000 เมกกะวัตต์ต่อปี สปป.ลาวถือว่าเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย แต่ปัจจุบันมีการใช้ไปเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ในขณะนี้ทางไทยได้เข้าไปลง MOU เพื่อสร้างเขื่อนซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว หลายโครงการ อีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าการส่งออกไฟฟ้าของ สปป.ลาว อาจจะเกินดุลการค้ากับประเทศไทย
7. ได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า
8. โครงการ Contract Farming ทำให้ธุรกิจการเกษตรไทยเข้าไปลงทุนใน สปป.ลาว มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผลทางการเกษตร ปศุสัตว์ เป็นต้น
9. มีการเจรจาแผนความร่วมมือ ทางการค้าระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ในหลายเวทีเพื่อลดปัญหาอุปสรรคทางการค้าอำนวยความสะดวกให้เกิดความลื่นไหลทางการค้าเป็นระยะๆ มากขึ้น
10. สปป.ลาว มีเสถียรภาพทางการเมือง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูงและค่าแรงงานไม่แพงนัก
11. มีชนเผ่าต่างๆ มากมายทำให้มีความหลากหลายทางด้านการท่องเที่ยว
ที่มา : http://www.fact.fti.or.th/th
ASEAN FAIR 2017 งานที่คุณสามารถขายสินค้า หาตัวแทนจำหน่าย สร้างเครือข่าย และขยายธุรกิจ สร้างมูลค่าได้มากกว่า 1800 ล้านบาท ภายใน 3 วัน พบกัน
13-15 ตุลาคม 2560 ณ สะหวันไอเตค แขวงสะหวันนะเขต
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
Tel. : 02-192-1685-6
Fax : 02-192-1689
Mobile : 086-310-2493 (K.แอม), 086-303-5847 (K.ตั้ม)
e-Mail : marketing@thaipurchasing.com

Comment
New!

งานสัมมนา PINGs ครั้งที่ 35 โฉมใหม่ พิเศษกว่าเดิม งานนี้ฟรีตลอดงาน

พลังแห่งการดีไซน์ เสน่ห์มัดใจ สไตล์ “SMEG”

เมเจอร์ดึง AI หนุนแอพพลิเคชั่น หวังเอาใจคอหนังรุ่นใหม่

ฮ่องกงในมุมต่าง แทบไม่เชื่อว่าที่เดียวกัน ผจญภัย เอาท์ดอร์ที่ฮ่องกง แบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม

จัดเต็ม! รวมร้านบุฟเฟ่ต์ทะเลเผา เอาใจคนชอบกิน