นั่งทำงานอย่างไรให้ถูกวิธี เพื่อถนอมร่างกาย
การนั่งทำงานนานๆและนั่งอย่างไม่ถูกสุขลักษณะจะส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น นั่งนานกว่า 4-5 ชั่วโมงก็เพิ่มโอกาสที่จะสะสมไขมันจนกลายเป็นโรคอ้วน กระดูก ก็อาจเกิดการเสื่อมสภาพ รวมถึงมีความเสี่ยงจะเป็นโรคหัวใจและมีภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
ดังนั้นควรปรับ เปลี่ยนท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง ด้วยวิธีที่ง่ายๆ เช่น หากต้องใช้คอมพิวเตอร์ควรปรับให้จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับเหมาะสมกับสายตา นอกจากดวงตาจะไม่ตึงเครียดเมื่อจ้องหน้าจอ ก็จะไม่เกิดอาการปวดคอซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก
หากเมื่อยไหล่เมื่อยคอ ต้องรีบปรับอิริยาบถทันที ไม่ให้ไหล่โค้งงอ และควรทำแขนตั้งฉาก 90 องศาเพื่อหลีกเลี่ยง การบาดเจ็บที่ไหล่และลำคอ ควรปรับพนักเก้าอี้ให้มีช่องว่าง ที่พอดีระหว่างเก้าอี้และหลัง หรืออาจจะใช้หมอนรองหลัง เพื่อไม่ให้หลังโค้งงอ การวางเท้าก็ควรเก็บเท้าทำมุม 90 องศา เพราะว่าการไขว้ขาหรือไขว่ห้างจะทำให้ความตึงเครียดในข้อต่อและขัดขวางการไหลเวียนโลหิต
นอกจากนี้ควรหยุดพักเพื่อออกกำลังผ่อนคลายบ้าง โดยอาจจะทำทุกๆครึ่งชั่วโมง เช่น การหมุนคอ ถ้าเป็นไปได้ควรลุกขึ้นเดินไปรอบๆ และยืดเส้นยืดสายด้วยการยืดแขนเหนือศีรษะหรือยืดแขนออกไปด้านข้าง ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้น ในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวันอาจใช้เวลาสักเล็กน้อยเดินรอบๆตึกทำงาน ก็จะช่วยให้ร่างกายผ่อนความอ่อนล้าจากการนั่งทำงานนานๆได้.
ที่มาสาระน่ารู้จาก : http://www.thaihealth.or.th/
ภาพประกอบ : http://www.posturite.co.uk/blog/wp-content/uploads/2016/06/office-sitting.jpg
ASEAN FAIR 2017 งานที่คุณสามารถขายสินค้า หาตัวแทน สร้างเครือข่าย ขยายธุรกิจ สร้างมูลค่าได้มากกว่า 1800 ล้านบาท
ภายใน 3 วัน พบกัน
13-15 ตุลาคม 2560 ณ สะหวันไอเตค แขวงสะหวันนะเขต
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ :
Tel. : 02-192-1685-6
Fax : 02-192-1689
Mobile : 086-310-2493 (K.แอม), 086-303-5847 (K.ตั้ม)
e-Mail : marketing@thaipurchasing.com

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม