นโยบายสาธารณะกับปัญหาอุบัติเหตุโดยรถสาธารณะ

1.5K



ปัญหาอุบัติเหตุเป็นปัญหาที่คาราคาซังมาเนิ่นนานสำหรับประเทศไทย ตัวเลขสำหรับช่วงเทศกาลปีใหม่ล่าสุดมีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกจากปีที่ผ่านมา นอกจากนั้นยังมีกรณีสะเทือนขวัญสำหรับอุบัติเหตุรถตู้โดยสารที่เกิดขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุเกือบทั้งคัน สร้างคำถามในเชิงนโยบายและการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังต่อทางภาครัฐ และ ผู้กำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับระบบคมนาคมขนส่งทั้งหมด ถึงแม้ผู้ดูแลรับผิดชอบทุกภาคส่วนจะพยายามอย่างเต็มที่และทุ่มเททรัพยากรในการป้องกัน และ ควบคุมอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลต่างๆ แต่ก็ดูเหมือนจะไม่สามารถลดความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี

 

    ถ้าจะพิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่ออุบัติเหตุจะประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านคนขับ ปัจจัยด้านยานพาหนะ และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น คนขับต้องมีความพร้อม มีชั่วโมงทำงานที่เหมาะสม หรือ มีความสามารถในการขับขี่ และ ความคุ้นเคยในการขับขี่ในเส้นทางต่างๆ สำหรับปัจจัยด้านยานพาหนะก็เช่นเดียวกันต้องมีความสมบูรณ์ทั้งในส่วนอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์เสริมต่างๆ ส่วนปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับถนนหนทาง ป้ายแจ้งทางที่ชัดเจน อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยบนท้องถนน การป้องกันอุบัติเหตุจากปัจจัยเหล่านี้สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ขั้นตอนการกำหนดคุณภาพ และ คุณลักษณะของตัวรถ ผู้ขับขี่ การทดสอบความสามารถ จนไปถึงการกำกับดูแลการให้บริการบนเส้นทาง หรือ จุดตรวจสอบต่างๆ จริงๆแล้วทางหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบคงพยายามทุกวิถีทางเพื่อดำเนินการในส่วนต่างๆอยู่แล้ว
    นอกเหนือจากเรื่องปัจจัยต่างๆที่กล่าวข้างต้นเราคงต้องมองในภาพรวมระดับนโยบายที่สามารถแก้ปัญหาแบบยั่งยืนได้ ประเด็นคำถามแรกคือความเหมาะสมของการมีบริการรถตู้โดยสารในแต่ละระยะทางทั้งในเชิงการให้บริการประชาชน ความเหมาะสมของตัวรถ และ ความปลอดภัย

รถตู้เกิดขึ้นมาจากความต้องการในการเดินทางของประชาชนในการเติบโตของเมืองที่กระจัดกระจาย หากประชาชนที่เดินทางระยะทางไกลระหว่างจังหวัดสามารถเข้าถึงสถานีขนส่งของรถโดยสารประจำทางขนาดใหญ่ได้สะดวก ทางเลือกในการใช้รถตู้จากจุดรับส่งที่กระจัดกระจายตามคิวรถต่างๆ

เหตุใดประชาชนถึงใช้รถตู้แต่ไม่ใช้รถทัวร์ที่คุณภาพการให้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเพราะราคา หรือ ความสะดวกสบาย?

ประเด็นถัดมาที่ต้องตั้งคำถามคือบทบาทของรถตู้ที่เหมาะสมในการเป็นระบบรองในการ feed ผู้โดยสารเข้าสู่ระบบหลักต่างๆทั้งรถไฟฟ้าในการเดินทางในเมือง และ รถโดยสาร หรือ รถไฟในการเดินทางระหว่างเมือง คงต้องมีการกำหนดโครงข่ายและบทบาทการให้บริการที่เหมาะสม

ความเหมาะสมของตัวรถและระยะทางในการบริการก็เป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องต่อมา ประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญยิ่งกว่าคือการกำหนดคุณลักษณะของผู้ประกอบการ หากเราถอดบทเรียนของประเทศต่างๆจะเห็นว่าการให้บริการระบบขนส่งมวลชนนั้นจำเป็นต้องมีผู้ประกอบการที่มีขนาดใหญ่ระดับหนึ่งเพื่อให้สามารถกำกับดูแลได้

ปัจจุบันรถตู้ รถแท็กซี่ หรือ แม้กระทั่งรถเมล์นั้นยังมีลักษณะที่เป็นรายย่อยถึงระดับเจ้าของรถหนึ่งคนต่อรถหนึ่งคัน การยกระดับคุณภาพการให้บริการ การรักษาชื่อเสียง หรือ ผลกระทบต่อการยกเลิกใบอนุญาตต่อบริษัทจะมีผลน้อยมากสำหรับกรณีรายย่อย ภาครัฐคงต้องมองการปฏิรูปจากมุมมองทั้งระยะสั้นในการเพิ่มความเข้มข้น และ ปรับใช้เครื่องมือต่างๆในการกำกับดูและการให้บริการ ในขณะเดียวกันต้องมีแนวทางเชิงนโยบายที่ชัดเจนในการยกระดับผู้ประกอบการรถสาธารณะที่รับผิดชอบชีวิตประชาชนให้ได้ มิฉะนั้นเราคงต้องคอยดูสถิติที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุก ๆ ปี

ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา THAIPURCHASING Expo คลิก!!!

ที่มาข้อมูลจาก : http://www.thansettakij.com/2017/01/08/123534


@Line THAIPURCHASING
THAIPURCHASING.com !!! มี LINE Official แล้วรู้ยัง
สอบถามหาข้อมูลสินค้าหรือกิจกรรมต่างๆของเรา ได้ทุกวันผ่าน 

กดถูกใจ FanPage เพื่อติดตามกิจกรรมของเราได้ที่ :

กดถูกใจแฟนนเพจ คลิก PURCHASING Industrial Products
Facebook.com/thaipurchasing.tensho


sendLINE

Comment