บ้านคุณอยู่เขตไหน? ส่อง 4 ทำเลทองแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ราคาพุ่งติดจรวด
บ้านคุณอยู่เขตไหน? ส่อง 4 ทำเลทองแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ราคาพุ่งติดจรวด
เริ่มเห็นเค้าโครงกันบ้างแล้ว สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากถนนลาดพร้าว-บางกะปิ มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น แต่ก่อนที่จะสำเร็จก็ต้องผ่านขั้นตอนสำคัญ คือ การจัดตั้งกรรมสิทธิ์และเวนคืนที่ดิน ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและวุ่นวาย เพราะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.. ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ขอตามติดแผนเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ว่า จุดไหนบ้างที่จะโดนเวนคืน? แล้วจริงหรือไม่ ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าราคาสูงพุ่งปรี๊ดดดด.. !?
ภายหลังจาก มีรายงานจากเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา ประกาศราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะโดนเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2558 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนด เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา สืบเนื่องจากมีความจําเป็นต้องดําเนินกิจการขนส่งมวลชน ตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สําโรง ในท้องที่ดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดําเนินการสํารวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผนหรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชน อ่าน : พระราชกฤษฎีกา (คลิกที่นี่) ส่อง! โครงการ แนวเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง คาดเสร็จ 2562 นี้! สำหรับรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เป็นระบบขนส่งมวลชนประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) มีลักษณะเป็นโครงสร้างยกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีระยะทางทั้งสิ้น 30.4 กิโลเมตร ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 23 แห่ง โรงจอดรถศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง อาคารและลานจอดรถไฟฟ้า 1 แห่ง บริเวณพื้นที่ทางแยกต่างระดับศรีเอี่ยม ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสายสีน้ำเงินที่สถานีรัชดา (สถานีลาดพร้าวของสายสีน้ำเงิน) กับระบบขนส่งมวลชน 4 สาย คือ สายสีเทาของกรุงเทพฯ สายสีส้มบริเวณทางแยกลำสาลี รถไฟเชื่อมต่อท่าอากาศยาน (Airport Rail Link) บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 และสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง
เปิดโผที่ตั้ง 23 สถานี จุดเวนคืน สร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
4 ทำเลทอง ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ราคาพุ่งสูง..!? ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงราคาประเมินมูลค่าที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ว่า ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าโดยทั่วไปมีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 4-5 ไร่ต่อแปลง ซึ่งสามารถเทียบและประเมินราคาได้ ดังนี้
“ทำเลทองที่ 2 ที่ดินย่านศรีนครินทร์ บริเวณช่วงถนนศรีนครินทร์ ใกล้กับพัฒนาการ ราคาประเมิน พบว่า ปี 2556 ราคาอยู่ที่ ตารางวาละ 1.8 แสนบาท ส่วนปี 2557 ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 2 แสนบาท ซึ่งในอนาคต หากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเสร็จ มูลค่าที่ดินจะเพิ่มขึ้นปีละ 10%” ดร.โสภณ กล่าว “ทำเลทองที่ 3 ที่ดินย่านศรีนครินทร์ บริเวณซีคอนสแควร์ลงมาช่วงตอนล่าง ราคาประเมิน พบว่า ปี 2556 ราคาอยู่ที่ ตารางวาละ 1.9 แสนบาท ส่วนปี 2557 ราคาเพิ่มขึ้นเป็น ตารางวาละ 2 แสนบาท ซึ่งในอนาคตมูลค่าที่ดินจะเพิ่มขึ้นปีละ 10%” ดร.โสภณ กล่าว “ทำเลทองที่ 4 ที่ดินบริเวณย่านถนนศรีนครินทร์-บางนา ราคาประเมินพบว่า ปี 2556 ราคาอยู่ที่ 1.2 แสนบาท ซึ่งราคาปัจจุบันอยู่ที่ 1.3 แสนบาท และในอนาคต หากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองเสร็จ มูลค่าที่ดินจะเพิ่มขึ้นปีละ 10% เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าราคาที่ดิน ตั้งแต่ช่วงศรีนครินทร์ลงมาตอนล่าง ราคาจะไม่พุ่งเท่ากับบริเวณอื่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ห่างไกลเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ” ดร.โสภณ กล่าว
ขณะที่ นายเอกวัฒน์ มานะแก้ว รองอธิบดีด้านบริหาร กรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินรอบใหม่ปี 2559-2562 พบว่า ภาพรวมที่ดินใน กทม. ปรับราคาเพิ่มขึ้น 15.78% ราคาที่ดินสูงสุดอยู่ที่พื้นที่สีลม ราคาตารางวาละ 1 ล้านบาท ส่วนราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้น 75% ส่งผลให้ราคาที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้น 25% ดร.โสภณ กล่าวว่า สำหรับราคาที่ทางราชการประเมินนั้น ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่สูง ถ้าเทียบกับการประเมินราคาตามท้องตลาดทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ที่ดินสีลม ตารางวาละ 1 ล้านบาท และที่ดินสยาม ตารางวาละ 9 แสนบาท ขณะที่ตนประเมินมูลค่าที่ดินสีลมไว้ อยู่ที่ ตารางวาละ 1.5 ล้านบาท และที่ดินสยาม ตารางวาละ 1.7 ล้านบาท เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าราคาที่ตนประเมินสูงกว่าราคาของทางราชการ เนื่องจากตนเชื่อว่าราคาที่ดินสยามมีราคาสูงกว่าที่ดินสีลม เพราะเป็นใจกลางเมืองและแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ
ดร.โสภณ กล่าวอีกว่า มูลค่าที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าที่ทางราชการประเมินว่า เพิ่มขึ้น 75% นั้น ถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าราคาตามท้องตลาดทั่วไปเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากราคาที่ทางราชการตั้งไว้สำหรับเสียภาษี ไม่ได้ใช้เพื่อการซื้อขาย “การเวนคืนที่ดิน” ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นทุกครั้งที่มีโครงการก่อสร้างสิ่งต่างๆ เพราะพื้นที่เดียวกัน อาจมีทั้งคนได้ที่ประโยชน์และเสียประโยชน์ร่วมอยู่ เพราะฉะนั้นเอง จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันกับทุกฝ่าย และนำพาโครงการรถไฟฟ้าก้าวไปสู่ความสำเร็จในเร็ววัน.
ข้อมูลและรูปภาพ : http://www.thairath.co.th/content/536735 |

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม