บีทีเอส จ่อเช่าที่รถไฟ 200 ไร่ แลกสร้างคอนโดฯ 5 พันห้อง
‘บีทีเอส’ จ่อเช่าที่รถไฟ 200 ไร่ แลกสร้างคอนโดฯ 5 พันห้อง
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.58 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือกับบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด มหาชน หรือบีทีเอสซี ว่า บีทีเอสซี ได้เข้ามาเสนอแผนการพัฒนาพื้นที่ กม.11 บนเนื้อที่ 359 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยจะมีการจัดสรรพื้นที่บางส่วนเพื่อใช้ก่อสร้างคอนโดมิเนียมให้พนักงานรถไฟอยู่อาศัย 5,000 ห้อง พร้อมกับลงทุนก่อสร้างให้ฟรีทั้งหมด เพื่อแลกเปลี่ยนกับการให้เช่าเนื้อที่บางส่วนไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีเงื่อนไขว่า การพัฒนาพื้นที่จะต้องมีการจัดสร้างคอนโดมิเนียม พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ร้านค้าสำหรับพนักงาน สวนสาธารณะ พื้นที่เชิงพาณิชย์ รวมถึงการสร้างรถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยวเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางถึงกัน นอกจากนี้ บีทีเอสซี ยังได้เสนอแผนการขอใช้ทางรถไฟของร.ฟ.ท. เพื่อใช้เดินรถไฟดีเซล และรถไฟพลังงานไฟฟ้า เพื่อขนส่งสินค้าในเส้นทางขอนแก่น-มาบตาพุด อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสัดส่วนการแบ่งรายได้ให้ร.ฟ.ท. ซึ่งหลังจากนี้ให้บีทีเอสซี กลับไปจัดทำรายละเอียดของแผนการพัฒนาและการแบ่งปันผลประโยชน์ในการเดินรถ เพื่อกลับมาเสนอให้รมว.คมนาคม รับทราบภายใน 10 วัน นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวว่า ตามแผนที่บีทีเอสซีเสนอการพัฒนาใช้พื้นที่ กม.11 คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท โดยการรถไฟฯ จะมีการจัดสรรพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้บีทีเอสซีไปพัฒนาประมาณ 100-200 ไร่ จากทั้งหมด 359 ไร่ ส่วนที่เหลือจะเป็นพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ขายของของพ่อค้าแม่ค้าเดิม และสวนสาธารณะ รวมถึงการสร้างที่พักให้ผู้มีรายได้ปานกลาง "เบื้องต้นรูปแบบการลงทุนทั้ง 2 โครงการจะเป็นการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนแบบพีพีพี ซึ่งในส่วนของการขอใช้ทางรถไฟเพื่อขนส่งสินค้า บีทีเอสซีจะลงทุนเองทั้งหมด พร้อมทั้งการันตีรายได้ขั้นต่ำให้กับ ร.ฟ.ท. ยาว 50 ปี" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าว
|

Comment
New!

สถาปนิก 68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

หากท่านอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ไม่ควรพลาดงานนี้ !! งาน Thailand Oil & Gas Roadshow 2024

สถาปนิก’68 ทบทวนทิศทาง Past Present Perfect

แบรนด์ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างชั้นนำกว่า 600 บริษัท ตบเท้าร่วมงานสถาปนิก’67 พร้อมโชว์นวัตกรรมสุดล้ำ
Popular

ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

สินค้าส่งออกสำคัญ 10 อันดับแรกของไทย

การส่งกำลังโดยใช้สายพาน

ประเภทสกรูและน็อต อุตสาหกรรม