“สตาร์ตอัพไทย”ลุยเวียดนาม คนรุ่นใหม่ช็อปออนไลน์ทะลุ6พันล้านเหรียญ

1.5K



“สตาร์ตอัพไทย”ลุยเวียดนาม คนรุ่นใหม่ช็อปออนไลน์ทะลุ6พันล้านเหรียญ

             “startup” ไทยแห่ลงขัน “e-Commerce” เวียดนาม เผยสินค้าขนมขบเคี้ยว-แฟชั่นไทยสุดฮอตบน platform ออนไลน์ “Shopee” YEN-D อ้อนพาณิชย์ต่อยอดโครงการ YEN-D ระยะยาวแนะลุยตลาดใหม่

นายปีเตอร์ ทวีผลเจริญ กรรมการผู้จัดการบริษัท Loka Nature CO., LTD. หรืออดีตผู้ก่อตั้งขนมโดนัทแบรนด์ “Daddy Dough” กล่าวในฐานะประธานโครงการ YEN-D เวียดนาม ว่า ปัจจุบันโลจิสติกส์เวียดนามเติบโตสูงและเร็วมาก ทั้งการขนส่งคมนาคมทางบกและอีคอมเมิร์ซ อาทิ “lalamove” รูปแบบ grab ส่งของด่วนในระยะทางไกลด้วยนโยบาย last miles จากภาคเหนือ

ฮานอยสู่ภาคใต้โฮจิมินห์ และเริ่มส่งออกประเทศเพื่อนบ้านไม่ต่ำกว่า 30,000 ชิ้นต่อวัน ด้วยการบริการ one stop service ลูกค้าสามารถต่อรองเสนอราคาได้ ขณะเดียวกัน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้รับความนิยมคนเวียดนามชื่นชอบซื้อขายออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชั่น shopee-lazada จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ โดยเฉพาะกลุ่ม startup SMEs มองเห็นโอกาสในการขยายธุรกิจไปยังตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมากขึ้น โดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ เนื่องจากเป็นตลาดใหม่มาแรง โตเร็ว แต่ก็มีความท้าทายจากการแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง

“เหตุผลที่อยากไปตลาดนี้ต้องรู้ว่าขายอะไรได้บ้าง อย่างขนม เสื้อผ้าของไทยได้รับความนิยมมากเป็นช่องทางที่ SMEs ไทยเข้ามาทำรายได้เพิ่มขึ้นและมีโอกาสขยายได้อีกมาก เพราะคนเวียดนามเข้าถึงได้ง่าย และคนเวียดนามจำไทยในฐานะ consumer product ทำให้เชื่อมั่นในแบรนด์ไทย โดยเฉพาะสังคมโฮจิมินห์ชอบช็อปปิ้งออนไลน์ ทราบมาว่าผู้หญิงเวียดนามที่อยู่ในกลุ่มอายุ 25 ปีมีกำลังซื้อมากที่สุด เป็นสินค้าแฟชั่น ขนมขบเคี้ยว ถือว่ายังโตได้อีกมาก”

สำหรับแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้นของตลาดเวียดนาม ทั้งด้านปริมาณ (วอลุ่ม) และจำนวนคน เป็นปัจจัยหลักน่าลงทุน ส่วนตัวแล้วมองว่าเวียดนามเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่งของไทย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดในระยะหลังคือเวียดนามเริ่มพัฒนาโปรดักต์ นั่นคือสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งพัฒนาไม่หยุดนิ่งเช่นกัน ไม่เพียงเวียดนามแต่ตลาดกลุ่ม CLMV ชื่นชอบสินค้าไทยอยู่แล้ว ส่วนการแข่งขันขึ้นอยู่ที่ว่าใครจะสามารถพัฒนาให้มีวอลุ่มมากกว่า ซึ่งในข้อนี้กลับเป็นจุดแข็งของเวียดนามที่สามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติในเวลานี้

อย่างไรก็ตาม โครงการ YEN-D หรือโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (Young Entrepreneur Network Development Program : YEN-D Program) ครั้งล่าสุดนี้ได้เจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างไทย-เวียดนาม เป็นโครงการที่ดีและเปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ ซึ่งอยากให้รัฐบาลมองว่าต่อยอดผู้ประกอบการที่เป็น startup ได้มากขึ้น และเป็นส่วนขยายฐานตลาดเพื่อนบ้านแต่ต้องมองว่าต้องเปิดตลาดให้กว้างขึ้นไม่ใช่เพียงกลุ่มเดิมและสานต่อระยะยาว ภาครัฐเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาในเรื่องกฎระเบียบการค้าระหว่างประเทศร่วมกันต่อไป

ด้านนางสุภาพร สุขมาก กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโฮจิมินห์ เปิดเผยว่า การค้าการลงทุนด้านอีคอมเมิร์ซเวียดนามเติบโตสูงมากในห้วง 2 ปี เนื่องจากรัฐบาลมีโครงสร้างพื้นฐานส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศมีกำลังซื้อโดยเฉพาะพฤติกรรมการจับจ่ายของคนเวียดนามเริ่มหันไปใช้แพลตฟอร์มช็อปปิ้งออนไลน์ รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และไฟแนนซ์มีการเติบโตสูงมาก ทำให้อัตราการว่างงานในเวียดนามลดลงและมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงน่าจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยเข้ามาลงทุน ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ อาหาร เครื่องดื่ม ยังเติบโตได้อีกมากในตลาดอีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงและรวดเร็วมากในขณะนี้

ขณะที่นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ช่วง 3 ปีตั้งแต่ปี 2556-2560 อัตราการเติบโตทางธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเวียดนามมีสูงขึ้นเฉลี่ยปีละ 20% มูลค่าอยู่ที่ 6,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าในปี 2563 จะมีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และจะขยายตัวมากขึ้นเนื่องจากรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับการปรับตัวของคนรุ่นปัจจุบันใช้แอปพลิเคชั่นในการใช้จ่ายระบบจ่ายเงินปลายทาง (COD) มากขึ้น สังคมไร้เงินสด อีเพย์เมนต์ และอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้สัดส่วนยอดขายอีคอมเมิร์ซของเวียดนามปัจจุบันคิดเป็น 3.62% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมดในเวียดนาม ถือว่าค่อนข้างมากเเละโตเร็ว

อย่างไรก็ดี ในปี 2561 กรมได้จัดทำโครงการเพื่อขยายตลาดสินค้าและบริการของไทยในกลุ่มประเทศ CLMV ได้อย่างประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายในปี 2562 ได้วางแผนขยายตลาดไปสู่ตลาดใหม่ อาทิ ไทย-อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.prachachat.net

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

sendLINE

Comment